การต่อประกันสังคม มาตรา 39

วันนี้ผมมีโอกาสได้ มาทำเรื่องต่อประกันสังคม มาตรา 39 หรือ พูด ง่ายๆ คือ

“เมื่อคุณทำงานประจำ ที่ส่งประกันสังคม มาตรา 33 ให้คุณ มาได้  12 เดือนแล้ว และลาออก แล้วอยากออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือ ไม่ได้ทำงานแล้ว แต่ ยังอยากคงสิทธิ์ของประกันสังคมเดิมเอาไว้”

ก็ต้องมาสมัคร ประกันสังคม มาตรา 39 เพื่อที่จะรักษาสิทธิ์การรักษาพยาบาล สิทธิ์การคลอดบุตรต่างๆ อีกมากมาย

สิ่งที่ต้องเตรียมไปก่อนต่อ มาตรา 39

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • บัตรประชาชนตัวจริง
  • เงินสดจำนวน 432 บาท
  • (เสริม จะมีหรือไม่มีก็ได้) คือ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารสำหรับ ใครต้องการตัดค่าประกันสังคมแบบ Auto ทุกเดือน

โอเคทีนี้ เราจะไปที่ไหนหละ ในการทำเรื่องต่อมาตรา 39 นี้ จริงๆแล้ว สำนักงานประกันสังคม นั้นมีกระจายอยู่มากมาย ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

สำนักงานประกันสังคม - กรุงเทพและปริมณฑล
สำนักงานประกันสังคม – กรุงเทพและปริมณฑล

โดยสำนักงานประกันสังคมที่ผมเลือกไปนั้น คือ “สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8” อยู่ไม่ไกลจากบ้านผม เกือบติดกับ ห้าง Paradise Park

สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8
สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8

โดยของผม มาวันธรรมดา ช่วงเวลาประมาณ 11 โมง ตอนเข้ามาตอนแรก ที่จอดรถนั้นแน่นเอียด เพราะที่นี่ ที่จอดรถมีไม่มากเท่าไหร่นัก แต่โชคดีระหว่างวนรถมีรถกำลังออก

ที่จอดรถ - สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8
ที่จอดรถ – สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8

พอจอดรถเสร็จก็ตรงดิ่งเข้ามา หน้าประตูก็ทำให้ได้รู้ว่า เห้ย มีคนขายหวยอยู่ด้วย ซื้อสักหน่อยละกัน ถุ้ย!!  555 ก็จะพบว่า มันเปิด 8.30 น. – 16.30 น. ไม่ได้ดูมาก่อนเลยว่ามันเปิดปิดกี่โมง

ทางเข้าตึก - สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8
ทางเข้าตึก – สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8

เข้ามาถึงข้างในตัวตึก ผมบอกได้คำเดียวเลยว่า ให้ถามพนักงานก่อนเลย ว่ายื่นเรื่องสมัครประกันสังคมมาตรา 39 ชั้นไหน ตรงไหน

เพราะผมนี่ โคตรเสียเวลา ไปกดคิว ในตู้กด ตรงปุ่มเขียนว่า “จ่ายเงินสมทบ ม.33 ม.39 ม.40” และก็รอคิวจนถึงเค้าเรียก ปรากฎว่า ยังจ่ายไม่ได้ ถ้าไม่ขึ้นไปยื่นเรื่องสมัคร มาตรา 39 ก่อน โอ้ แม่พระ โง่จริงๆ

รอไปเกือบ ชั่วโมง พอได้รู้ว่าต้องไป ยื่นเรื่องสมัคร มาตรา 39 ก่อน ก็ตรงดิ่งไป ชั้น 3 ตามที่พนักงานบอกมา

“ที่ชั้น 2 ของที่นี่ มีที่ถ่ายเอกสาร และ มีอาหาร Food Course คอยบริการอยู่”

พอมาถึงชั้น 3 แล้วก็ไม่ต้องรีรอครับ กดปุ่ม “6 ประกันตนเอง-มาตรา 39” เลยครับ

กด 6 ที่เครื่องกดบัตรคิวชั้น 3 - สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8
กด 6 ที่เครื่องกดบัตรคิวชั้น 3 – สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8

กดเสร็จแล้วก็อย่าลืมหยิบ ใบสมัครที่วางอยู่ข้างๆตู้กดนะครับ ติดป้ายใหญ่ๆ อยู่บนชั้น เขียนว่า “กรณีสมัครมาตรา 39”

ใบสมัคร มาตรา 39 - สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8
ใบสมัคร มาตรา 39 – สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8

“แนะนำใบสมัคร มาตรา 39 สามารถกรอกได้ผ่านเว็บประกันสังคม และ Print มาก่อนได้เลย ไม่ต้องมาหยิบที่นี่ก็ได้ ตาม Link ข้างล่างนี้เลยครับ”

Download แบบ Form การสมัครผู้ประกันตน มาตรา 39

จากนั้นไม่นานพนักงานก็เรียก กระบวนการสมัครบอกเลยว่าไม่นานและเร็วมาก ประมาณ 15 นาทีก็เสร็จ เผลอๆ อาจจะไม่ถึง

แต่ขั้นตอนนี้หละครับที่ ต้องใช้ สำเนาบัตรประชาชน และ บัตรประชาชนตัวจริง แล้ว ถ้าใครอยากจะตัดบัญชีจ่ายประกันสังคมแบบ อัตโนมัติ ก็ เตรียมสมุดบัญชีของธนาคารที่ต้องการตัดมาด้วยครับ ไม่เสียค่าธรรมเนียมการตัด

บรรยากาศ ชั้น 3 - กด 6 ที่เครื่องกดบัตรคิวชั้น 3 - สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8
บรรยากาศ ชั้น 3 – สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8

หลังจากเสร็จพนักงานก็จะให้เราลงไปจ่ายเงินที่ชั้น 1

บรรยากาศ ชั้น 1 - สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8
บรรยากาศ ชั้น 1 – สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8

คราวนี้ผมไม่พลาดละ กลับมากดที่ตู้กดคิว และ  กด เบอร์ 1 “จ่ายเงินสมทบ ม.33 ม.39 ม.40” ได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ตู้กดคิวชั้น 1 - สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8
ตู้กดคิวชั้น 1 – สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8

กดเสร็จ รอคิว เดินไปจ่ายเงิน ปุ๊บ เสร็จ ปั๊บ สบายๆ กลับบ้านได้เลยครับ เย้

เกรดความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคม เล็กน้อย

การขอรับเงินระหว่างว่างงาน

คืองี้ มันมีสิทธิ์อยู่ข้อนึงที่ ถ้าลืมหรือไม่รู้จะเสียโอกาสมากๆเลยคือ สมมติเราออกจากงาน เราสามารถไปแจ้ง ที่กรมแรงงานได้ว่า เรา “ว่างงาน”

พอเราแจ้งที่กรมแรงงานแล้วว่าเราว่างงาน เราก็สามารถเบิกเงินกับประกันสังคมได้ อย่างมากสุด เราจะได้เงิน ไม่เกิน 3 เดือน หลังจากเราว่างงาน

เงินที่ได้จะเป็น 30% จากเงินเดือน มากสุด 15,000 พูด ง่ายๆ ถ้าเงินเดือนมากกว่า 15,000 ก็ได้เงินเพียง 30% ของ 15,000 ต่อเดือน ติดกัน ไม่เกิน 3 เดือน

เราต้องแจ้งกรมแรงงาน ภายใน 90 วัน หลังจากเราว่างงาน ไม่งั้น จะหมดสิทธิ์ข้อนี้ไปเลยทันที !!!!!!

การจ่ายเงิน 432 บาท ล่าช้า

คือเราจะต้องจ่ายเงิน 432 บาท ในทุกๆวันที่ 15 ของเดือน ถ้าเราจ่ายช้าไป 3 เดือน เราจะหมดสิทธิ์รักษาอะไรต่างๆ ที่ควรจะได้รับ ของ มาตรา 39

และถ้าเราไม่จ่าย เลย 12 เดือน เราจะหมดสิทธิ์ มาตรา 39 ไปเลย ถาวร ระวังกันด้วยนะครับ

*** กรณีจ่ายแบบ หักบัญชี แต่วันที่ 15 เงินในบัญชีไม่พอตัด ในวันที่ 16 เป็นต้นไป ต้องไปจ่ายเงิน 432 บาท ที่ สำนักงานประกันสังคม เท่านั้น ***

ธนาคารที่รองรับการตัดเงิน 432 บาท ของประกันสังคมแบบอัตโนมัติ มี 7 ธนาคาร

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงศรี
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารทหารไทย
  • ธนาคารธนชาติ
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารไทพาณิชย์

โอเคครับบล็อกนี้ขอจบเพียงเท่านี้ ผิดพลาดเรื่องข้อมูลยังไงขออภัยไว้นะที่นี้ด้วยนะครับ ฟังๆ จากพนักงานมา อาจจะจับใจความไม่ได้ทั้งหมด 😀

2 Replies to “การต่อประกันสังคม มาตรา 39”

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ มีประโยชน์มากๆเลยยยย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *